วันอังคารที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2563

โควิด-19

ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่คืออะไร 

โลกได้รับรู้เรื่องโรคติดต่อปริศนา หลังจากทางการจีนยืนยันเมื่อ 31 ธ.ค. 2019 ว่าเกิดการระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ในเมืองอู่ฮั่น ซึ่งมีประชากรกว่า 11 ล้านคน โดยหลังจากเก็บตัวอย่างไวรัสจากคนไข้นำไปวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ ในเวลาต่อมา จีนและองค์การอนามัยโลก ระบุว่า ไวรัสชนิดนี้คือ "เชื้อไวรัสโคโรนา" ก่อนหน้านี้ พบไวรัสโคโรนามาแล้ว 6 สายพันธุ์ ที่เคยเกิดการระบาดในมนุษย์ สำหรับไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่กำลังระบาดเป็นสายพันธุ์ที่ 7 คนไทยรู้จักไวรัสในตระกูลนี้มาแล้วจากโรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันร้ายแรง หรือ โรคซาร์ส (Severe Acute Respiratory Syndrome - SARS) ซึ่งมีสาเหตุจากเชื้อไวรัสโคโรนาเช่นกัน โดยพบการระบาดครั้งแรกปลายปี 2002 เริ่มจากพื้นที่มณฑลกวางตุ้งของจีน ก่อนที่จะแพร่กระจายไปในหลายประเทศ จนมีผู้ติดเชื้อกว่า 8,000 คน และคร่าชีวิตผู้คนไปเกือบ 800 คนทั่วโลก อนามัยโลกตั้งชื่อ "โควิด-19" ให้โรคทางเดินหายใจจากไวรัสสายพันธุ์ใหม่ จีนได้บทเรียนอะไรบ้างจากโรคซาร์สระบาดเมื่อ 17 ปีก่อน รักษาหรือปล่อยตาย เรื่องใหญ่ที่หมออิตาลีต้องเลือกคนไข้ในวิกฤตโควิด-19 องค์การอนามัยโลก ประกาศชื่อที่เป็นทางการสำหรับใช้เรียกโรคทางเดินหายใจที่เกิดจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ว่า "โควิด-ไนน์ทีน" (Covid-19) ขณะที่คณะกรรมการระหว่างประเทศว่าด้วยอนุกรมวิธานวิทยาของไวรัส (International Committee on Taxonomy of Viruses ) ได้กำหนดให้ใช้ชื่อไวรัสที่ทำให้เกิดโรค Covid-19 ว่า SARS-CoV-2 หรือไวรัสโคโรนาโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรงชนิดที่สอง (Severe acute respiratory syndrome coronavirus 2 ) เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องทางพันธุกรรมอย่างใกล้ชิดกับเชื้อไวรัสโรคซาร์ส

ที่มาของโรค

ขณะนี้ยังไม่มีใครทราบชัดเจนถึงแหล่งกำเนิดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ก่อนหน้านี้มีการสันนิษฐานว่า ไวรัสชนิดนี้อาจเริ่มติดต่อจากสัตว์ป่ามาสู่คน โดยมีต้นตอของการแพร่ระบาดจากงูเห่าจีน (Chinese cobra) และงูสามเหลี่ยมจีน (Chinese krait) ที่นำมาวางจำหน่ายในตลาดสดเมืองอู่ฮั่น ซึ่งเป็นสถานที่พบผู้ติดเชื้อกลุ่มแรก ๆ

ทีมผู้วิจัยสันนิษฐานว่า งูอาจเป็นสัตว์ตัวกลางที่ส่งต่อเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่จากค้างคาวมาสู่คน เนื่องจากงูพิษที่อาศัยอยู่ในธรรมชาติล่าค้างคาวในถ้ำเป็นอาหาร แต่ก็ยังคงมีข้อสงสัยว่า ไวรัสโคโรนาสามารถปรับตัวให้อยู่อาศัยและขยายพันธุ์ในร่างกายของทั้งสัตว์เลือดเย็นและสัตว์เลือดอุ่นได้อย่างไร

ล่าสุด นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่า ตัวนิ่ม สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ชาวจีนเชื้อว่ามีสรรพคุณตามตำรายาแผนโบราณนั้น อาจเป็นพาหนะนำเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่จากค้างคาวมาแพร่สู่คนที่ตลาดค้าสัตว์ป่าเมืองอู่ฮั่น

นักวิทยาศาสตร์ตั้งข้อสังเกตว่า ตัวนิ่มซึ่งใช้ลิ้นตวัดกินมดและแมลงตามพื้นดินนั้นอาจได้รับเชื้อจากการสูดหายใจมูลค้างคาวที่ตกอยู่ตามพื้นดินเข้าไป

อาการ

องค์การอนามัยโลก ระบุว่า ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ จะมีอาการเริ่มแรกคือ มีไข้ ตามมาด้วยอาการไอแห้ง ๆ หลังจากนั้นราว 1 สัปดาห์จะมีปัญหาหายใจติดขัด ผู้ป่วยอาการหนักจะมีอาการปอดบวมอักเสบร่วมด้วย หากอาการรุนแรงมากอาจทำให้อวัยวะภายในล้มเหลว

ขณะที่กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข แนะนำว่า หากผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงการระบาดของโรคมีอาการไข้ ร่วมกับอาการทางเดินหายใจอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก หายใจเหนื่อยหอบ ควรรีบพบแพทย์ทันที

ความรุนแรงของโรค

ปัจจุบันนักวิจัยประเมินว่า ในจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 1,000 คน มีผู้เสียชีวิต ราว 5-40 คน หากจะระบุตัวเลขคาดการณ์ที่เฉพาะเจาะจงลงไปอีกก็คือ 9 คน ในผู้ติดเชื้อ 1,000 คน หรือเกือบ 1%

ขณะที่นายแมตต์ ฮานค็อก รัฐมนตรีสาธารณสุขของสหราชอาณาจักร ระบุเมื่อวันที่ 1 มี.ค.ที่ผ่านมา ว่า "การประเมินที่ดีที่สุด" ของรัฐบาลคือ อัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ "2% หรือ น่าจะต่ำกว่านั้น"

แต่ก็ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งเรื่องของอายุ เพศ สุขภาพโดยทั่วไป และระบบสาธารณสุขที่ผู้ป่วยเข้ารับบริการ

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลคนไข้ 56,000 คน ที่จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลก บ่งชี้ว่า ผู้ได้รับเชื้อ 4 ใน 5 คน จะมีอาการป่วยไม่รุนแรง โดย :

  • 80% มีอาการไม่รุนแรง
  • 14% มีอาการรุนแรง
  • 6% มีอาการวิกฤต

ส่วนอัตราการเสียชีวิตอยู่ในระดับต่ำที่ 1-2%





วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2563

3.1วิทยาการข้อมูล(Data science)

3.1วิทยาการข้อมูล(Data science)

การศึกษาถึงกระบวนการในการนำข้อมูลจำนวนมหาศาลมาประมวลผล เพื่อให้ได้องค์ความรู้ ค้นหารูปแบบจากข้อมูลและสามารถนำมาวิเคราะห์ต่อยอด หรือใช้ในการตัดสินใจเพื่อประโยชน์สูงสุด

กระบวนการของData science

-ตั้งคำถามที่ตนเองสนใจ

-สิ่งที่สนใจ เกิดประโยชน์ และคุณค่า

-ใคร ทำอะไร กับใคร ที่ไหน เมื่อไหร่ ปริมาณเท่าใด

การสำรวจข้อมูล

-สำรวจขอมูลที่เก็บรวบรวมมาว่ามีรูปร่างหน้าตาอย่างไร

-พบสิ่งที่หน้าสนใจจากข้อมูลที่เราสำรวจ รวมถึงสิ่งที่ปกติด้วย

-วาดรูปหรือแผนภาพเพื่อที่จะดูรูปแบบเบื้องต้นของข้อมูล

การวิเคราะห์ข้อมูล

-ทำนายสิ่งที่เกิดในอนาคตจากสิ่งที่มีอยู่

-มีเรื่องของการใช้สถิติมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

-วิเคราะห์จากคำถามเบื้องต้นที่ตั้งไว้

เก็บรวบรวมข้อมูล

-ข้อมูลที่รวบรวมมาต้องสอดคล้องกับคำถาม

-หาข้อมูลจากหลายแหล่งเพื่อให้ได้ข้อมูลตรงกับความต้องการ

-ข้อมูลต้องมีความน่าเชื่อถือ

การสื่อสารและการทำผลลัพธ์ให้เห็นเป็นภาพ นำข้อมูลสื่อสารเป็นผลลัพธ์ออกมาจะทำให้คนอื่นเข้าใจได้ง่าย

 

3.3 ยุค 5G/6G , Iot , AI

 

3.3 ยุค  5G/6G ,  Iot  , AI                                                                                                                                                                                   4G ก็เริ่มเดินทางมาถึงปลายทาง ที่เริ่มจะไม่ตอบโจทย์เทคโนโลยีหลายๆอย่างที่เปลี่ยนไป และโลกเราก็ต้องมีวิวัฒนาการเพิ่มขึ้น ทำให้เราเดินทางเข้าสู่ 5G คือการสื่อสารแบบไร้สายในเจนเนอเรชั้นต่อไป ที่จะ ไม่ใช่แค่เปลี่ยนชีวิตเรา แต่จะเปลี่ยนสังคมของเรา และเปลี่ยนรูปแบบของธุรกิจไปอีกมากมาย   ประโยชน์ของ 5G เช่น IoT Internet of Thing,  VR ก็คือ Virtual Reality, AR ก็คือ Augmented Reality, Autonomous vehicles คือ รถหรือพาหนะระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติ, Remote surgery คือ การผ่าตัดทางไกล และความแตกต่างของ5Gกับ4G  คือจะมีตัว element หลักๆอยู่ 3 อย่าง  1. ก็คือความเร็วจะเพิ่มขึ้นราว 20 เท่า 2.ก็คือปริมาณอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่ออกันได้ในพื้นที่หนึ่งๆ 5G ทำได้เป็นล้านตัวต่อตารางกิโลเมตร 3. ก็คือความเร็วในการตอบสนอง (Latency) 5G มันจะเหลือเหลือแค่ 1 ms

       6G แม้จะยังอยู่ในช่วงพัฒนาแต่ก็มีการคาดการณ์กันว่า ความเร็วของ 6G จะเร็วกว่า 5G ถึง 8,000 เท่าซึ่งให้ความเร็วได้ถึง 8,000 Gigabit ต่อวินาทีถ้าให้พูดง่ายๆ คือเราจะสามารถดาวน์โหลดภาพยนตร์รวมกันยาว 142 ชั่วโมง ได้ภายในเวลา 1 วินาทีเท่านั้นซึ่งด้วยความเร็ว ณ ระดับนี้จึงทำให้มีการคาดการณ์กันว่า เทคโนโลยี 6G จะถูกนำมาใช้กับ อุปกรณ์ที่เราสามารถสั่งงานได้ผ่านสมองของเรา โดยที่เราไม่ต้องพิมพ์ หรือพูดอีกต่อไป